วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

หัวใจชายหนุ่ม

ประวัติผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์
รัชกาลที่ ๖แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลา ๑๕ ปีที่ทรงครองราชย์ (พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘) ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการทหาร การปกครองการต่างประเทศ และโดยเฉพาะด้านอักษรศาสตร์ พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์งานประพันธ์หลายประเภททรงใช้พระราชนิพนธ์เป็นสื่อแสดงแนวพระราชดำริในเรื่องต่างๆ


ความเป็นมา
หัวใจชายหนุ่มเป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยใช้พระนามแฝงว่า ..รามจิต.. ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับระยะเวลาในจดหมาย ๑ ปี ๗ เดือน เป็นผุ้ที่ถ่ายทอดสังคมแบบไทยกับตะวันตกที่ผสมผสานกัน และทำให้ผู้ที่อ่านได้ข่อคิดและความบันเทิงมากมาย
เรื่องย่อ
    นายประพันธ์ ประยูรสิริ เป็นหนุ่มไทยที่เดินทางไปศึกษาต่อยังประเทศอังกฤษ เมื่อสำเร็จการศึกษาก็เดินทางกลับประเทศไทยโดยทางเรือ ขณะเดินทางก็เขียนจดหมายถึงเพื่อนชื่อ นายประเสริฐ  สุวัฒน์  ที่ยังคงศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ เขียนเล่าเรื่องราวเมื่อกลับมาถึงเมืองไทยโดยผ่านจดหมาย ๑๘ ฉบับ ด้วยการระบายความรู้สึกที่คิดถึงประเทศอังกฤษและคนรักชาวอังกฤษ
            การเดินทางกลับเมืองไทยในครั้งนี้ ประพันธ์ต้องเข้ารับราชการด้วยการฝากเข้าตามเส้นสายซึ่งเขาไม่ชอบ แต่เขาก็ไม่สามารถหางานทำเองได้ และพ่อได้เตรียมหาคู่ครองที่เหมาะสมให้ชื่อ แม่กิมเน้ย ซึ่งประพันธ์ไม่ประทับใจ  ด้วยเห็นว่าแม่กิมเน้ยหน้าตาเหมือนนางชุนฮูหยิน สวมเครื่องประดับมากเกินไป ดูพะรุงพะรังราวต้นคริสต์มาส และที่สำคัญประพันธ์ไม่ชอบการแต่งงานแบบคลุมถุงชน
            ประพันธ์ไม่มีความสุขเพราะไม่มีสถานเริงรมย์ให้เลือกเที่ยวมากมายเหมือนที่อังกฤษ แต่เขาเริ่มมีความสุขเพลิดเพลินขึ้นมาอีกครั้งเมื่อได้รู้จักกับหญิงชื่อ อุไร สาวงามที่มีความทันสมัยไม่ต่างจากสาวฝรั่ง
            ประพันธ์และอุไรคบหากันอย่างสนิทสนมและออกเที่ยวเตร่ด้วยกันจนทำให้อุไรเกิดตั้งครรภ์และพ่อต้องจัดการแต่งงานทั้งๆที่ไม่พอใจเป็นอย่างมาก หลังจากแต่งงานอุไรยังชอบเที่ยวเตร่และใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยจนทั้งสองมีปากเสียงกัน ทำให้อุไรหันไปคบกับชายคนใหม่ชื่อ พระยาตระเวนนคร ทั้งๆที่เขามีภรรยาแล้วถึง ๗ คน ในที่สุดประพันธ์และอุไรก็ต้องหย่าขาดกัน

            ครั้นประพันธ์ได้เลื่อนยศเป็นหลวงบริบาลบรมศักดิ์ อุไรจึงได้กลับมาขอคืนดี เพราะพระยาตระเวนนครมีภรรยาสาวคนใหม่จึงขอบ้านที่เธออยู่คืน แต่ประพันธ์ไม่ใจอ่อนและแนะนำให้เธอกลับไปอยู่บ้านพ่อ ไม่นานอุไรก็แต่งงานใหม่กับ หลวงพิเศษผลพานิช พ่อค้าที่มีฐานะดี ทำให้ประพันธ์รู้สึกโล่งใจเป็นอย่างมาก
            ต่อมาประพันธ์ได้พบกับหญิงสาวคนหนึ่งชื่อ ศรีสมาน และรู้สึกพึงใจในตัวเธอมาก ทั้งนี้ผู้ใหญ่สองฝ่ายก็ชอบพอกัน ประพันธ์จึงหวังว่าจะแต่งงานครองคู่อยู่กับศรีสมานอย่างมีความสุขยั่งยืนในอนาคต

ข้อคิด
1.อย่าหลงงมงายกับวัฒนธรรมตะวันตกจนลืมวัฒนธรรมไทยที่บรรพบุรุษสร้างมา
2.ควรหางานทำโดยใช้ความรู้ของเรา ไม่ควรใช้เส้นสาย
3.การแต่งงานโดยเปลือกนอก ขากการเข้าใจซึ่งกันและกัน นำไปสู่รักที่ไม่ยั่งยืน
4.ผู้หญิงควรรักนวลสงวนตัวไม่ชิงสุกก่อนห่าม
5.ควรรักเดียวใจเดียว ไม่ควรมีภรรยาหลายคน

ความรู้เพิ่มเติม
นวนิยายเรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมการแต่งกาย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สภาพสังคมที่สะท้อนผ่านเรื่องหัวใจชายหนุ่ม สภาพการศึกษา จากเมื่อก่อน เรียนที่วัดต่อมาก็เรียนที่โรงเรียน การทำงานที่ยังเหมือนเดิมคือการฝากงาน รับราชการ แต่ที่ต่างคือถ้าขยันก็จะเลื่อนตำแหน่งและก้าวหน้า การแต่งกายผู้ชายใส่สูท  ผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่น เริ่มนุ่งกระโปรง เริ่มไว้ผมยาวกันแต่ง หน้าสวมเครื่องประดับ การแต่งงานจะดูที่ความเหมาะสมทั้งด้านฐานะ การศึกษา และรักเดียวใจเดียว



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น